วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของการ "ออกแบบอัตลักษณ์" "Brand" หมายถึงอะไร และ"เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

ความหมายของการ "ออกแบบอัตลักษณ์" "Brand" หมายถึงอะไร และ"เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

        อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 
สิ่งที่ถูกเรียกว่าอัตตลักษณ์นั้นเป็นเพียงคำที่ต้องการสื่อถึงคำพูดบางประการ เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของบุคคล ซึ่งความเป็นตัวตนนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่แสดงการกระทำออกมาโดยแนวคิดหลักของอัตลักษณ์ก็คือ แนวคิดหลังสมัยใหม่ ซึ่งส่งผลทำให้อัตลักษณ์ของบุคคลมีลักษณะเลื่อไหลได้ตามกระแสวัฒนธรรมทั่วไปหรือกระแสวัฒนธรรมนิยม ที่เป็นบริบทหลักของสังคมที่บุคคลอยู่ ดังนั้นคำว่าอัตลักษณ์จึงอาจหมายรวมถึง “เอกลักษณ์” 




   


ในรูปความหมายดังเดิมที่เป็นมา เช่น เอกลักษณ์ของชาติ เอกลักษณ์ของนักเรียน เอกลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น โดยทั้งนี้คำว่า อัตลักษณ์นั้น หรือ identity จึงเป็นคำที่อยู่ในคาบเกี่ยวของสหวิชาการต่าง ๆ มากมาย ผู้เขียนจึงให้คำนิยามว่า อัตลักษณ์นั้นจึงเป็นอะไรที่ต้องขึ้นอยู่ว่าสถานที่พูดนั้นอยู่ที่ไหน และใครเป็นผู้พูด และพูดถึงใคร และพูดเพื่ออะไร ในการพูดครั้งนั้นพูดอย่างไรนั่นเองโดยนัยยะที่ผู้เขียนได้สื่อมานั้น ทำให้เห็นว่าความหลากหลายจึงเกิดขึ้นกับคำนิยามของอัตลักษณ์ ว่าเป็น ปรัชญา มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น โดยที่สิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนในชิ้นนี้จะเน้นที่ อัตลักษณ์ในมุมมองของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึ่งมีคำที่เป็นคาบเกี่ยวกับความหมายโดยนัยของอัตลักษณ์ เช่น ตัวแทน (agency) องค์ตัวแทน (representative) องค์ประธาน(subject , subjectives) ปัจเจกชน (individual) เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วคำต่าง ๆ เหล่านี้พยายามที่จะสื่อสภาพของตัวตนของบุคคลขึ้นมา โดยอาศัยความเป็นเหมือนกันก็คือ ความเป็นปัจเจก และการแสดงออกที่มีนัยสำคัญ โดยอาจกล่าวได้ว่าเมื่อดูจากภาพรวมแล้ว ศาสตร์แรก ๆ ที่ให้การสนใจในการศึกษาเรื่องของการแสดงออก พฤติกรรมของมนุษย์ก็น่าจะเป็นจิตวิทยา โดยผู้ที่ให้ความใจในการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังก็คือ ลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของ ซิกมันด์ ฟรอย นักจิตวิเคราะห์ นั่นก็คือ Erik H. Erikson ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์เช่นเดียวกับอาจารย์เขาแต่สิ่งที่เขาเห็นแย้งกับฟรอย ก็คือเรื่องของพัฒนาการทางจิต หรือกระบวนการสร้างบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะในวัยเด็ก แบบที่ฟรอยอธิบายกระบวนการเกิดอัตลักษณ์นั้น และอีกประการหนึ่งที่ทำให้แนวคิดของคนทั้งสองไม่สู้จะลงรอยกันอย่างมากในเรื่องของอัตลักษณ์ก็คือ เรื่องของความเชื่อในคุณค่าของระดับจิต โดยที่ ฟรอยนั้นให้คุณค่ากับจิตใต้สำนึกมากกว่าส่วนอื่น ๆ แต่ในทัศนะของอิริคสัน เขากับมองว่าส่วนที่สำคัญคือ ego หรือสิ่งที่เราเรียกว่าจิตสำนึกนั่นเอง ซึ่งอาจตีความให้เข้ากับสังคมวิทยาได้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ในกระบวนการเหล่านี้อิริคสันอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมมนุษย์โดยอาศัย กฎวิกฤติทางจิตสำนึก
คัดลอกจากเว็ปไซต์ : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4b0c8786f873061a


สรุปความหมาย
       อัตลักษณ์เป็นเรื่องที่มีส่วนร่วมกันอยู่ หลายประการ เช่นอัตลักษณ์เป็นเรื่องของปัจเจกคล อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการสร้างจากบริบทเชิงพื้นที่และเวลา (วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์) อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการให้คำนิยามและตีความ มีความหมายเชิงคุณค่า ซึ่งคุณค่าเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องได้รับความเป็นสากล แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือการสร้างตัวตนจากวัฒนธรรมย่อยก็ได้ ทำให้เกิดการยอมรับซึ่งพหุลักษณ์ทางสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเอกลักษณ์ในคำนิยามสมัยแรกที่จะต้องสร้างเพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมเท่านั้น แต่อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการยอมรับในการรมีอยู่ของปัจเจกอย่างจริงจัง








แบรนด์ หรือ ภาพลักษณ์ตราสินค้า

         แบรนด์ (Brand) หมายถึงภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า ภาพลักษณ์ของตราสินค้าได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการขาย วิธีการที่จะเพิ่มความสำคัญของภาพลักษณ์ตราสินค้าของคุณสู่สายตาผู้บริโภค ภาพ ลักษณ์ของตราสินค้าหมายถึงความรู้สึกในสายตาของผู้บริโภคที่มีต่อภาพลักษณ์ ธุรกิจของคุณ การเรียงลำดับของความรู้สึก การเก็บรวบรวมข้อมูล สมองของเราเริ่มทำการแยกแยะ ทำให้เรามีความรู้สึกว่า สวยงาม ดี การเลือกของผู้บริโภคแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดย สายตา ความรู้สึกที่ได้รับ ผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญของบริษัท ขอบคุณในการแข่งขันเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมของภาพลักษณ์ ภาพลักษณ์ไม่ได้เป็นเพียงแนวความคิด หรือสิ่งที่เรียกว่า "ความลับ" มันเกิดขึ้นเมื่อผ่านเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดต่างๆ โครงการ การออกแบบกราฟฟิก บัตรประจำตัว ภาพลักษณ์ และบ่อยครั้งที่มีผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์หรือการส่งเสริมการขาย การศึกษาบรรจุภัณฑ์ และวัสดุสำหรับการสั่งซื้อ

คัดลอกจากเว็ปไซด์ :http://arit.chandra.ac.th/sar/identity.pdf


สรุปความหมาย
        แบรนด์ ก็คือ 
ชื่อ สัญลักษณ์ รูปแบบ ดีไซน์ หรือการสื่อสารอะไรก็แล้วแต่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อระบุสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง นั่นเอง และตราสินค้าใดที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น เข้ามาอยู่ใจกลางและง่ายต่อการเข้าถึง ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหรือลงทุนในการค้นหาข้อมูลเมื่อต้องการซื้อสินค้า ผู้บริโภคจะเลือกตราสินค้าที่สร้างทัศนคติที่ดีเหล่านั้น และเกิดเป็นความภักดีในตราสินค้า นอกจากจะเป็นฐานลูกค้าที่มั่นคง ยังอาจจะแนะนำหรือเพิ่มลูกค้าให้มากขึ้นโดยไปบอกต่อเพื่อนหรือญาติสนิทอีกด้วย 

  




"เครื่องหมาย"และ"สัญญาลักษณ์"
         สัญญาลักษณ์ (symbols) มีความหมายควบคุมทุกประเภทดังที่หนังสือบัญญัติพร้อมอธิบายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พศ.2525 ได้อธิบายไว้ว่า “สัญญาลัษณ์” หมายถึง ลักษณะของสิ่งใดๆที่กำหนดนิยมกันขึ้นมาเองให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง และเดรย์ฟัสส์(Dreyfuss,1972)ได้อธิบายไว้
ทำนองเดียวกันคือ 
1.สิ่งซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม
2.ตัวอักษรที่เขียนจึ้นหรือเครื่องหมาย(mark) ที่ใช้เป็นตัวแทนบ้างสิ่งบ้างอย่าง เช่นตัวอักษร รูปร่าง หรือเครื่องหมายแทนวัตถุกระบวนการบางอย่างเป็นต้น


                                     




อ้างอิงจาก : หนังสือ "การออกแบบสัญลักษณ์ : LOGO Trade mark Symbol",ผู้เขียน
ทองเจือ เขียดทอง,พ.ศ.2548



สรุปความหมาย
         สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุอักษร รูปร่างหรือสีสีนซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกันอาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันสามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงจากหนังสือและเว็บไซต์
หนังสือ "การออกแบบสัญลักษณ์ : LOGO Trade mark Symbol",ผู้เขียน 
ทองเจือ เขียดทอง,พ.ศ.2548
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4b0c8786f873061a














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น