วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า

          เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมาย บริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น 
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) เป็นต้น

4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่ม เดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น 


เครื่องหมายการค้าต่างๆ



➤ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ตามพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol)
        ปัจจุบันผู้ประกอบการค้า ได้ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องมือนำทางการค้า ทั้งภายในประเทศและการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองสิทธิในประเทศต่าง ๆ ก่อนส่งสินค้าไปจำหน่าย เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้า และมิให้ผู้ใดนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนในต่างประเทศโดยมิได้เป็นเจ้าของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีนโยบายในการส่งเสริมการให้บริการขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศด้วยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ด้วยการศึกษาแนวทางการเข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด (Madrid Protocol) หากประเทศไทย เข้าเป็นภาคีพิธีสารกรุงมาดริด ผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกของไทยก็จะได้รับประโยชน์ที่จะสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ได้ หลายประเทศในคราวเดียวกัน โดยยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงคำขอเดียว ใช้เพียงภาษาเดียว(อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือสเปน) และเสียค่าธรรมเนียมเพียงครั้งเดียว ซึ่งก็จะทำให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วในการยื่นคำขอจดทะเบียน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอีกด้วย



แผนภูมิขั้นตอนการจดทะเบียนเคื่องหมายการค้า
ที่มาของรูปภาพ : http://203.209.117.203/ipthailand/index.php?
option=com_content&task=view&id=1080&Itemid=197


➤ ขั้นตอนการจดทะเบียน
การยื่นคำขอ
ให้ยื่นต่อสำนักงานระหว่างประเทศ (International Bureau) ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) โดยยื่นผ่านสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิดของประเทศผู้ขอ ซึ่งจะดำเนินการตรวจสอบและรับรองว่าเครื่องหมายที่ยื่น สินค้าและ/หรือบริการที่ระบุ เหมือนกับคำขอรากฐาน (Basic Application) หรือทะเบียนรากฐาน (Basic Registration)
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่จะนำไปยื่นขอจดทะเบียนระหว่างประเทศตามพิธีสารกรุงมาดริดได้นั้น ต้องเป็นคำขอที่มีการยื่นขอจดทะเบียน หรือได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วในประเทศต้นกำเนิด
การจดทะเบียน การจดทะเบียนแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนระหว่างประเทศ
เมื่อสำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอจดทะเบียน จะดำเนินการตรวจสอบเบื้องต้น (Formal Examination) ในเรื่องความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของพิธีสารกรุงมาดริดและกฎข้อบังคับพิธีสารกรุงมาดริด (Common Regulations) การระบุจำพวกและรายการสินค้าและ/หรือบริการ ว่าเป็นไปตาม Nice Classification หรือไม่ รวมทั้งการชำระค่าธรรมเนียม หากมีข้อบกพร่อง สำนักงานระหว่างประเทศจะแจ้งไปยังประเทศที่มีการยื่นคำขอและผู้ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอจะต้องแก้ไขภายใน 3 เดือน มิฉะนั้นจะถือว่าละทิ้งคำขอ
2. ขั้นตอนในประเทศ
เมื่อประเทศภาคีที่ผู้ยื่นคำขอประสงค์จะได้รับความคุ้มครองได้รับคำขอแล้ว จะดำเนินการตรวจสอบคำขอดังกล่าวตามขั้นตอนปกติที่ใช้สำหรับการตรวจสอบคำขอที่ยื่นในประเทศ โดยจะตรวจสอบเนื้อหาสาระ (Substantive Examination) โดยตรวจสอบตามกฎหมายภายในของตน เช่น ตรวจสอบความเหมือนคล้าย ลักษณะบ่งเฉพาะหรือลักษณะต้องห้าม เป็นต้น หากมีข้อบกพร่องต้องดำเนินการแก้ไขตามกฎหมายภายในของประเทศนั้น ๆ
หากมีเหตุที่ต้องปฏิเสธการรับจดทะเบียน จะต้องแจ้งให้สำนักงานระหว่างประเทศทราบภายในกำหนด 12 เดือน หรือ 18 เดือน หรือหลังจากนั้น (กรณีมีคำร้องคัดค้าน)มิฉะนั้นจะถือว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้รับการจดทะเบียนในประเทศที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว

➤ วันจดทะเบียน มี 2 กรณี ดังนี้
1) คือวันยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนต้นกำเนิด หากคำขอดังกล่าวถึงสำนักงานระหว่างประเทศภายใน 2 เดือน
2) หากเกิน 2 เดือน ให้ถือวันที่สำนักงานระหว่างประเทศได้รับคำขอเป็นวันจดทะเบียน

➤ อายุความคุ้มครอง
10 ปี นับตั้งแต่วันรับจดทะเบียน และต่ออายุได้อีกคราวละ 10 ปี การต่ออายุสามารถต่ออายุได้ก่อนวันสิ้นอายุ 6 เดือน หรือหลังสิ้นอายุแล้วภายใน 6 เดือนก็ได้ แต่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมเบื้องต้น (Basic fee) ทั้งนี้ สามารถต่ออายุเฉพาะบางประเทศ หรือทุกประเทศที่ได้รับความคุ้มครองก็ได้

 ➤ ค่
าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศมี 4 ประเภท คือ
1) Basic fee เป็นค่าธรรมเนียมเบื้องต้นสำหรับการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศหนึ่งคำขอ
- เครื่องหมายขาว-ดำ 653 สวิสฟรังค์
- เครื่องหมายที่เป็นสี 903 สวิสฟรังค์
2) Supplementary fee เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับจำพวกสินค้าและ/หรือบริการ ที่ยื่นขอจดทะเบียนเกิน 3 จำพวก โดยเสียค่าธรรมเนียมตั้งแต่จำพวกที่ 4 ขึ้นไป จำพวกละ 73 สวิสฟรังค์
3) Complementary fee เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับประเทศที่ระบุเพื่อขอจดทะเบียน ประเทศละ 73 สวิสฟรังค์
4) Individual fee เป็นค่าธรรมเนียมเฉพาะประเทศ









สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่3 ( 3 กันยายน พ.ศ.2557)

สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่3 ( 3 กันยายน พ.ศ.2557)

          อาจารย์เช็คชื่อและให้นักศึกษาออกมานำเสนอบทความหรือแปลสรุปข่าวของนักศึกษาที่เตรียมไว้ อาจารย์ให้นักศึกษาฟังเพื่อนและสรุปใจความสำคัญของข่าวหรือบทความที่นำเสนอ
          - วันนี้ดิฉันได้ออกไปนำเสนอข่าว เรื่อง บริกแฟรง (มิเดีย) เป็นการนำเสนอตัวอักษรผสมกับกราฟิกเป็นการผสมผสานการนำเสนอชิ้นงานที่หลากหลาย เช่น กราฟิกออกแบบบน รองเท้า เข็มกลัด
          - เบอร์ริเมอร์ เป็นการนำเสนอการออกแบบประตูเบอร์ลินเบิกท่ีเป็นสัญลักษณ์น่าสนใจ เช่น เสาประตูก็ได้ออกแบบเป็น คีม เลื่อย แปรงทาสี
            อาจารย์ตรวจงานกลุ่มของนักศึกษาและให้คำแนะนำการค้นข้อมูลและศึกษาในการทำงานกลุ่ม ให้นักศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดให้มากที่สุด


สิ่งที่ต้องเตรียมไปลงพื้นที่
1.คอมพิวเตอร์ต้องมีโปรแกรมดังนี้
        - Photoshop
        - Illustrator
2.แบบสอบถามแบบบันทึก
3.ต้องถ่ายภาพประกอบในการทำงาน
4.ต้องรู้จักเมล็ดพันธ์ุข้าว สักษณะ สี

          ก่อนลงพื้นที่ต้องมีข้อมูลให้ถูกต้อง  ต้องทำเป็นสลากมีการออกแบบสติ๊กเกอร์หลายๆแบบให้ผู้ประกอบการได้เลือก คิดวิธีขายและการเลือกถุงขนาดเท่าไร บรรจุเท่าไร หาถุงแบบขยายข้าง ศึกษาว่าข้าวมีอะไรบ้าง

***การนำเสนองานต้องมี มู้ดบอร์ด รายงานกลุ่ม


การบ้าน
ให้นักศึกษาสืบค้นรายละเอียดองโปรดักส์ของกลุ่มตัวเอง ( Rice Products )  
   ส.1
- วิสาหกิจชุมชนทำอะไรบ้าง 
- ขายข้าวอย่างไรบ้าง 
- มีประวัติความเป็นมาอย่างไร 
- การแปรรูปหมายความว่าอะไร 
- การวิเคราะห์โลโก้โดยนำมาดราฟในโปรแกรม Illustrator และลงพื้นที่จริง

   ส.2
- งานลงตัวทุกอย่าง ต้องมีฉลากของจริงสำเร็จ คิดวิธีขาย บรรจุภัณฑ์ ขนาดบรรจุ พร้อมนำเสนอเพื่อที่จะนำแบบเข้าสู่กระบวนการต่อไป





ขอขอบคุณผู้สอน : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร









วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

การจดทะเบียนพาณิชย์

การจดทะเบียนพาณิชย์
ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499
1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด
โดยบุคคลตาม 1.1-1.5 ต้องประกอบกิจการค้าซึ่งเป็นพาณิชยกิจตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดตาม 2
2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
(1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
(2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
(4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
(5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
(6) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(7) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(8) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(9) บริการอินเทอร์เน็ต
(10) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(11) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(13) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(14) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(15) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(16) การให้บริการตู้เพลง
(17) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ตาม 1.4-1.5 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
(1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
(2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
(3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
(4) บริการอินเทอร์เน็ต
(5) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
(6)บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(7) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
(8) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
(9) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
(10) การให้บริการตู้เพลง
(11) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

***กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ากิจการค้าที่ดำเนินการนั้นต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ หากเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนพาณิชย์***

3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่
3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย
3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

4. เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
รายละเอียดเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (โปรดคลิก)
*ท่านสามารถ Download แบบพิมพ์ไปใช้ในการจดทะเบียนได้ที่ www.dbd.go.th /ดาวน์แบบฟอร์ม/ทะเบียนพาณิชย์ หรือขอรับแบบพิมพ์ได้ที่
1. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร
2. สำนักงานเขตทุกเขต
3. เทศบาล
4. องค์การบริหารส่วนตำบล
5. เมืองพัทยา

5. สถานที่จดทะเบียน
5.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :
(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/fiic
5.2 ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนบริหารการจดทะเบียน สำนักข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด

6. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์
6.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
6.2 การเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ตาม (1) ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
6.3 เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ
6.4 ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย

7. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
7.1 ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนดตามแต่กรณี
7.2 ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
7.3 ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
7.4 ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
7.5 ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

8. บทกำหนดโทษ
8.1 ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
8.2 ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
8.3 ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
8.4 ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

9. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
9.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
9.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
9.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
9.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
9.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
9.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)






ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงและเว็บไซต์ : http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=373











การออกแบบอัตลักษณ์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ

การออกแบบอัตลักษณ์ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ


ตัวอย่างที่สเก็ตแบบคร่าวๆ


แนวคิด
ต้องมีจุดเด่นคือข้าวหรือต้นข้าว เป็นหลัก และการออกแบบนั้นจะต้องมีความคิดที่เป็นธรรมชาติ
และคำนึงถึงจุดเด่นของผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย





วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่2 (27 สิงหาคม พ.ศ.2557)

สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่2 (27 สิงหาคม พ.ศ.2557)
         อาจารย์เช็คชื่อนักศึกษา ให้นักศึกษาออกมานำเสนอสรุปข่าวหรือบทความที่เตรียมมารายงานหน้าชั้นจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายเกี่ยวกับโลโก้ (Logo)ของข่าวที่นักศึกษาออกมานำเสนอ และให้ไปศึกษาข้อมูลจากข่าวหรือบทความเพื่อทำความเข้าใจ มีการจดทะเบียนทางการค้ายังไง แล้วการสร้างแบรนด์แบบไหน อาจารย์อธิบายให้เราเห็นภาพไปด้วย เพื่อที่เข้าใจตรงกัน อาจารย์สอนการทำ Blog สอนแต่งใช้เครื่องมือออกแบบเทมเพลตบล็อกเกอร์ ➝ สอนเทคนิคการสร้างหน้าเว็บใหม่



ครื่องมือออกแบบเทมเพลตบล็อกเกอร์ 


          มีการสมัครระบบอีเลิร์นนิ่งเข้า สอบก่อนเรียน เพื่อสอบวัดระดับความรู้ของเรา
มีการแจกชีทการค้นหา Creative Idea อาจารย์อธิบายแต่ละหัวข้อให้เข้าใจไปพร้อมๆกัน มีคำศัพที่ต่างๆที่มีความหมายได้หลายชนิด บางคำนักศึกษาบางคนก็ไม่รู้ เช่น 
Analyze Strong ➤ การวิเคราะห์จุดแข็ง
Target Group ➤ เป้าหมายคือใคร
Trendy ➤ ร่วมสมัย 
         อาจารย์ได้แชร์ไฟล์การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ มาในไดรฟ์ แล้วให้แต่ละกลุ่มใส่ชื่อกลุ่มไหน อยู่สถานที่ไหน 

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 

การบ้าน
- ให้ศึกษาเรียนรู้ การออกแบบอัตลักษณ์
- ให้นักศึกษาไปสเก็ต อัตลักษณ์ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์ตามหัวข้อที่ได้รับ โดยลงสมุดและคอมพิวเตอร์แล้วนำมารวมกับเพื่อนในกลุ่ม เลือกอันที่ดีที่สุด

Mood & Feel คิดร่างแบบออกมา 






กิจกรรม
-วันที่ 28 สิงหาคม 2557 มีงานอุตสาหกรรม และวันที่ 3-7 กันยายน 2557 งานที่มหากรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ณ อิมแพค เมืองทองธานี ให้นักศึกษาลองไปดูงาน

 ที่มาของภาพ : http://natherbexpo.dtam.moph.go.th/


-วันที่ 19 กันยายน 2557 มีไปฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ(สวนนกชัยนาท) จังหวัดชัยนาท 




ขอขอบคุณผู้สอน : อาจารย์ประชิด ทิณบุตร





ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงรูปภาพและเว็บไซต์
http://natherbexpo.dtam.moph.go.th/




วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แปลสรุปบทความ

แปลสรุปบทความ (วันที่พุธที่27พฤศจิกายน พ.ศ.2557)
แปลสรุปบทความ
เรื่อง : Blickfang Media (บริกแฟรง)
จาก : แปลสรุปโดย นางสาวสุปราณี โพธิ์ศรี
รหัสนักศึกษา 5511300146 กลุ่มเรียน 101
Email : supranee5511300146@gmail.com
Publish Blog : http://artd2307-supranee5511300146.blogspot.com/
รายงานวิชา ARTD2307 การออกแบบอัตลักษณ์


Blickfang Media


05b4d311a8d7d6dec25814fa558e2fe2.jpg
5e8f32ddfe16fe2c261be01a187eb7b1.jpg
Logotype and corporate identity for “Blickfang Media” based in Munich, Germany.
The client client wished the logo concept to be quite simple symbol and at the same type very easy to comprehend and stick in memory. The main concerns of the client were the color range and the font selection, which would perfectly balance and be appropriate for the corporate positioning.


แปลสำเนาคำแปลโดยตรงจาก (google)
Blickfang สื่อ


สัญลักษณ์และเอกลักษณ์องค์กรสำหรับ "Blickfang สื่อ" อยู่ในมิวนิคประเทศเยอรมนี
ลูกค้าลูกค้าประสงค์แนวคิดโลโก้เป็นสัญลักษณ์ค่อนข้างง่ายและในประเภทเดียวกันง่ายมากที่จะเข้าใจและติดในความทรงจำ ความห่วงใยที่สำคัญของลูกค้าที่มีหลากหลายสีและการเลือกตัวอักษรที่สมบูรณ์แบบจะสมดุลและมีความเหมาะสมสำหรับการวางตำแหน่งของ บริษัท


การเรียบเรียงเนื้อหาใหม่สัญลักษณ์และเอกลักษณ์องค์กรสำหรับ สื่อ"บริกแฟรง " อยู่ในเมืองมิวนิคประเทศเยอรมนี ลูกค้ามีความประสงค์ต้องการโลโก้ที่มีแนวคิดเป็นสัญลักษณ์ค่อนข้างเรียบง่ายและในทางเดียวกันนั้นต้องเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจและจดจำได้ง่ายมากๆ ความห่วงใยหลักของลูกค้าคือความมีสีหลากหลายและการเลือกตัวอักษรที่สมบูรณ์แบบและสมดุลกับการเข้ากันของบริษัท


fbd2c00183266e7dc786489ed64589ee.jpg
de669a992fee8db4dcca68ed581b5cfa.jpg
Idea:


The Idea of the Logo Symbol was match the “B” letter with the Vintage Camera in a creative manner. After several variations and alterations of the Idea, I decided to combine the “B” letter(first letter of the company name) with curves of the camera tape rolls. As you can see the parts perfectly and practically match each other.
The text part of the logo is pretty simple and practical at the same time. The up and down frame lines stand for the film tape, thus the text in the logo concept is not just the naming, but also very practically fulfills and integrates into the concept philosophy.


แปลสำเนาคำแปลโดยตรงจาก (google)
ความคิด:


ความคิดของโลโก้สัญลักษณ์เป็นตรงกับ "B" เป็นตัวอักษรที่มีกล้องวินเทจในลักษณะที่สร้างสรรค์ หลังจากที่หลายรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงของความคิดที่ฉันตัดสินใจที่จะรวม "B" เป็นตัวอักษร (อักษรตัวแรกของชื่อ บริษัท ) กับเส้นโค้งของม้วนเทปกล้อง ขณะที่คุณจะเห็นชิ้นส่วนสมบูรณ์และในทางปฏิบัติตรงกับแต่ละอื่น ๆ
ส่วนข้อความของโลโก้ที่สวยเรียบง่ายและการปฏิบัติในเวลาเดียวกันเส้นกรอบขึ้นและลงยืนเทปภาพยนตร์เรื่องนี้จึงข้อความในแนวคิดโลโก้ไม่ได้เป็นเพียงการตั้งชื่อ แต่ยังสามารถตอบสนองมากในทางปฏิบัติและบูรณาการเข้ากับปรัชญาแนวคิด
ยกเลิกกา


การเรียบเรียงเนื้อหาใหม่


มีความคิดของโลโก้สัญลักษณ์ที่เข้ากันกับตัวอักษร บี ในกล้องวินเทจในลักษณะที่สร้างสรรค์
หลังจากที่มีหลายรูปแบบและมีการเปลี่ยนแปลงของความคิด ฉันเลยตัดสินใจว่าจะนำตัวอักษร บี ซึ่งเป็นตัวอักษรแรกของบริษัทเข้ากับม้วนเทปของกล้อง ในขณะนั้นคุณก็จะเห็นความสมบูรณ์แบบและเข้ากันในส่วนอื่นๆ ส่วนข้อความของโลโก้ที่เรียบง่ายก็ทำให้สอดคล้องในเวลาเดียวกัน เส้นขอบที่่ขึ้นลงของม้วนฟิล์มนั้นไม่ได้เป็นแค่การตั้งชื่อของโลโก้แต่ยังตอบสนองมากในทางปฏิบัติและบูรณาการเข้ากับปรัชญาแนวคิดอีกด้วย


e6818d097906c769660ef61129302e9f.png


Concept:


The finished logo concept consists of two separate thematically connected details, which perfectly match in one orriginal and simple idea and meets the client’s needs in a best way. The simplicity of the concept makes it easy to remember and provides the fast visual involvement of the viewers, thus creating an efficient base for further brand marketing.


แปลสำเนาคำแปลโดยตรงจาก (google)
แนวคิด:
แนวคิดโลโก้เสร็จแล้วประกอบด้วยสองแยกรายละเอียดที่เชื่อมต่อใจความที่สมบูรณ์แบบตรงกับในความคิด original และเรียบง่ายและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าในวิธีที่ดีที่สุด ความเรียบง่ายของแนวคิดที่ทำให้มันง่ายต่อการจดจำและให้มีส่วนร่วมของภาพอย่างรวดเร็วของผู้ชมดังนั้นการสร้างฐานที่มีประสิทธิภาพสำหรับการตลาดแบรนด์ต่อ


การเรียบเรียงเนื้อหาใหม่
แนวคิดของโลโก้เสร็จแล้วนั้นประกอบไปด้วยสองอย่างมีรายละเอียดที่เชื่อมต่อใจความที่สมบูรณแบบของต้นฉบับและมีความคิดที่เรียบง่ายและเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าในวิธีที่ดีที่สุด
ความเรียบง่ายของแนวคิดที่ทำให้มันง่ายต่อการจำและการมีส่วนร่วมอย่างรวดเร็วของผู้รับชม
ทำให้เกิดฐานที่มีประสิทธิภาพทางการตลาดต่อไป



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ : https://www.behance.net/gallery/Blickfang-Media/8276943







วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความหมายของการ "ออกแบบอัตลักษณ์" "Brand" หมายถึงอะไร และ"เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

ความหมายของการ "ออกแบบอัตลักษณ์" "Brand" หมายถึงอะไร และ"เครื่องหมายและสัญลักษณ์"หมายถึงอะไร"

        อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด 
สิ่งที่ถูกเรียกว่าอัตตลักษณ์นั้นเป็นเพียงคำที่ต้องการสื่อถึงคำพูดบางประการ เพื่อแสดงความเป็นตัวตนของบุคคล ซึ่งความเป็นตัวตนนั้นเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่แสดงการกระทำออกมาโดยแนวคิดหลักของอัตลักษณ์ก็คือ แนวคิดหลังสมัยใหม่ ซึ่งส่งผลทำให้อัตลักษณ์ของบุคคลมีลักษณะเลื่อไหลได้ตามกระแสวัฒนธรรมทั่วไปหรือกระแสวัฒนธรรมนิยม ที่เป็นบริบทหลักของสังคมที่บุคคลอยู่ ดังนั้นคำว่าอัตลักษณ์จึงอาจหมายรวมถึง “เอกลักษณ์” 




   


ในรูปความหมายดังเดิมที่เป็นมา เช่น เอกลักษณ์ของชาติ เอกลักษณ์ของนักเรียน เอกลักษณ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นต้น โดยทั้งนี้คำว่า อัตลักษณ์นั้น หรือ identity จึงเป็นคำที่อยู่ในคาบเกี่ยวของสหวิชาการต่าง ๆ มากมาย ผู้เขียนจึงให้คำนิยามว่า อัตลักษณ์นั้นจึงเป็นอะไรที่ต้องขึ้นอยู่ว่าสถานที่พูดนั้นอยู่ที่ไหน และใครเป็นผู้พูด และพูดถึงใคร และพูดเพื่ออะไร ในการพูดครั้งนั้นพูดอย่างไรนั่นเองโดยนัยยะที่ผู้เขียนได้สื่อมานั้น ทำให้เห็นว่าความหลากหลายจึงเกิดขึ้นกับคำนิยามของอัตลักษณ์ ว่าเป็น ปรัชญา มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ จิตวิทยา เป็นต้น โดยที่สิ่งที่สำคัญสำหรับงานเขียนในชิ้นนี้จะเน้นที่ อัตลักษณ์ในมุมมองของนักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึ่งมีคำที่เป็นคาบเกี่ยวกับความหมายโดยนัยของอัตลักษณ์ เช่น ตัวแทน (agency) องค์ตัวแทน (representative) องค์ประธาน(subject , subjectives) ปัจเจกชน (individual) เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วคำต่าง ๆ เหล่านี้พยายามที่จะสื่อสภาพของตัวตนของบุคคลขึ้นมา โดยอาศัยความเป็นเหมือนกันก็คือ ความเป็นปัจเจก และการแสดงออกที่มีนัยสำคัญ โดยอาจกล่าวได้ว่าเมื่อดูจากภาพรวมแล้ว ศาสตร์แรก ๆ ที่ให้การสนใจในการศึกษาเรื่องของการแสดงออก พฤติกรรมของมนุษย์ก็น่าจะเป็นจิตวิทยา โดยผู้ที่ให้ความใจในการศึกษาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจังก็คือ ลูกศิษย์คนสำคัญคนหนึ่งของ ซิกมันด์ ฟรอย นักจิตวิเคราะห์ นั่นก็คือ Erik H. Erikson ซึ่งเป็นนักจิตวิเคราะห์เช่นเดียวกับอาจารย์เขาแต่สิ่งที่เขาเห็นแย้งกับฟรอย ก็คือเรื่องของพัฒนาการทางจิต หรือกระบวนการสร้างบุคลิกภาพหรืออัตลักษณ์นั้นเป็นเรื่องที่เกิดได้ตลอดชีวิต ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะในวัยเด็ก แบบที่ฟรอยอธิบายกระบวนการเกิดอัตลักษณ์นั้น และอีกประการหนึ่งที่ทำให้แนวคิดของคนทั้งสองไม่สู้จะลงรอยกันอย่างมากในเรื่องของอัตลักษณ์ก็คือ เรื่องของความเชื่อในคุณค่าของระดับจิต โดยที่ ฟรอยนั้นให้คุณค่ากับจิตใต้สำนึกมากกว่าส่วนอื่น ๆ แต่ในทัศนะของอิริคสัน เขากับมองว่าส่วนที่สำคัญคือ ego หรือสิ่งที่เราเรียกว่าจิตสำนึกนั่นเอง ซึ่งอาจตีความให้เข้ากับสังคมวิทยาได้ว่า กระบวนการขัดเกลาทางสังคม ในกระบวนการเหล่านี้อิริคสันอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมมนุษย์โดยอาศัย กฎวิกฤติทางจิตสำนึก
คัดลอกจากเว็ปไซต์ : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4b0c8786f873061a


สรุปความหมาย
       อัตลักษณ์เป็นเรื่องที่มีส่วนร่วมกันอยู่ หลายประการ เช่นอัตลักษณ์เป็นเรื่องของปัจเจกคล อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการสร้างจากบริบทเชิงพื้นที่และเวลา (วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์) อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการให้คำนิยามและตีความ มีความหมายเชิงคุณค่า ซึ่งคุณค่าเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องได้รับความเป็นสากล แต่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือการสร้างตัวตนจากวัฒนธรรมย่อยก็ได้ ทำให้เกิดการยอมรับซึ่งพหุลักษณ์ทางสังคม ซึ่งไม่เหมือนกับเอกลักษณ์ในคำนิยามสมัยแรกที่จะต้องสร้างเพื่อความเป็นปึกแผ่นของสังคมเท่านั้น แต่อัตลักษณ์เป็นเรื่องของการยอมรับในการรมีอยู่ของปัจเจกอย่างจริงจัง








แบรนด์ หรือ ภาพลักษณ์ตราสินค้า

         แบรนด์ (Brand) หมายถึงภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารตราสินค้า ภาพลักษณ์ของตราสินค้าได้กลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการขาย วิธีการที่จะเพิ่มความสำคัญของภาพลักษณ์ตราสินค้าของคุณสู่สายตาผู้บริโภค ภาพ ลักษณ์ของตราสินค้าหมายถึงความรู้สึกในสายตาของผู้บริโภคที่มีต่อภาพลักษณ์ ธุรกิจของคุณ การเรียงลำดับของความรู้สึก การเก็บรวบรวมข้อมูล สมองของเราเริ่มทำการแยกแยะ ทำให้เรามีความรู้สึกว่า สวยงาม ดี การเลือกของผู้บริโภคแต่ละครั้งส่วนใหญ่จะถูกกำหนดโดย สายตา ความรู้สึกที่ได้รับ ผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญของบริษัท ขอบคุณในการแข่งขันเพื่อการศึกษาที่เหมาะสมของภาพลักษณ์ ภาพลักษณ์ไม่ได้เป็นเพียงแนวความคิด หรือสิ่งที่เรียกว่า "ความลับ" มันเกิดขึ้นเมื่อผ่านเครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดต่างๆ โครงการ การออกแบบกราฟฟิก บัตรประจำตัว ภาพลักษณ์ และบ่อยครั้งที่มีผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์หรือการส่งเสริมการขาย การศึกษาบรรจุภัณฑ์ และวัสดุสำหรับการสั่งซื้อ

คัดลอกจากเว็ปไซด์ :http://arit.chandra.ac.th/sar/identity.pdf


สรุปความหมาย
        แบรนด์ ก็คือ 
ชื่อ สัญลักษณ์ รูปแบบ ดีไซน์ หรือการสื่อสารอะไรก็แล้วแต่ที่สร้างขึ้นมาเพื่อระบุสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง นั่นเอง และตราสินค้าใดที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น เข้ามาอยู่ใจกลางและง่ายต่อการเข้าถึง ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องใช้เวลาหรือลงทุนในการค้นหาข้อมูลเมื่อต้องการซื้อสินค้า ผู้บริโภคจะเลือกตราสินค้าที่สร้างทัศนคติที่ดีเหล่านั้น และเกิดเป็นความภักดีในตราสินค้า นอกจากจะเป็นฐานลูกค้าที่มั่นคง ยังอาจจะแนะนำหรือเพิ่มลูกค้าให้มากขึ้นโดยไปบอกต่อเพื่อนหรือญาติสนิทอีกด้วย 

  




"เครื่องหมาย"และ"สัญญาลักษณ์"
         สัญญาลักษณ์ (symbols) มีความหมายควบคุมทุกประเภทดังที่หนังสือบัญญัติพร้อมอธิบายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พศ.2525 ได้อธิบายไว้ว่า “สัญญาลัษณ์” หมายถึง ลักษณะของสิ่งใดๆที่กำหนดนิยมกันขึ้นมาเองให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง และเดรย์ฟัสส์(Dreyfuss,1972)ได้อธิบายไว้
ทำนองเดียวกันคือ 
1.สิ่งซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุซึ่งเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุหรือสิ่งที่เป็นนามธรรม
2.ตัวอักษรที่เขียนจึ้นหรือเครื่องหมาย(mark) ที่ใช้เป็นตัวแทนบ้างสิ่งบ้างอย่าง เช่นตัวอักษร รูปร่าง หรือเครื่องหมายแทนวัตถุกระบวนการบางอย่างเป็นต้น


                                     




อ้างอิงจาก : หนังสือ "การออกแบบสัญลักษณ์ : LOGO Trade mark Symbol",ผู้เขียน
ทองเจือ เขียดทอง,พ.ศ.2548



สรุปความหมาย
         สัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมาย (Symbol) โดยพื้นฐานหมายถึง สิ่งที่ใช้แทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง หรือถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก สัญลักษณ์ หมายถึง วัตถุอักษร รูปร่างหรือสีสีนซึ่งใช้ในการสื่อความหมายหรือแนวความคิดให้มนุษย์เข้าใจไปในทางเดียวกันอาจจะเป็นรูปภาพ การเขียนอักษร การออกเสียง หรือการทำท่าทาง ซึ่งช่วยให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจตรงกันสามารถแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ทั้งสิ้น



ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงจากหนังสือและเว็บไซต์
หนังสือ "การออกแบบสัญลักษณ์ : LOGO Trade mark Symbol",ผู้เขียน 
ทองเจือ เขียดทอง,พ.ศ.2548
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4b0c8786f873061a







วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่1 (21 สิงหาคม พ.ศ.2557)

สรุปผลการเรียนการสอนสัปดาห์ที่1 (21 สิงหาคม พ.ศ.2557)
        สัปดาห์แรกในการเรียนวิชาการออกแบบอัตลักษณ์
ให้นักศึกษาไปศึกษาข้อมูลตามเว็บไซต์ของ
อาจารย์และดูผลงานเพื่อเป็นแนวทางในการเรียนเรียนรู้ครั้งต่อไป มีเว็บไซต์ดังนี้
1.www.Wordpressthai.com
2.www.E-learning
3.www.Chandrakasem.info.com
4.www.designmodo.com
5.www.Sitcs.google.com

สิ่งที่ต้องเตรียม
        1.ดินสอ 2B
        2.แฟ้มใส่ A4
        3.กระดาษกราฟ
        4.สมุดสเก็ต

การบ้าน
        ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์
       1.Brand หมายถึงอะไร
       2.เครื่องหมายและสัญลักษณ์หมายถึงอะไร
อ้างอิงจากเอกสาร-ตำราโดยตรง(ไทย/อังกฤษ) อย่างน้อย 3 แหล่ง พร้อมหาภาพประกอบคำอธิบายสรุป   เป็นความหมายและความเข้าใจของตนเอง
       3.ออกแบบอัตลักษณ์เป็นของตนเอง ในกระดาษกราฟต้องดีไซด์เอาเอง ใส่ตรา สถาบัน

วิธีการอ้างอิง
       1.แหล่งอ้างอิงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่.........
       2.อ้างอิงจาก.........
       3.คัดลอกจากเว็ปไซด์.........