วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ23 หมู่ที่ ๑๒ ตำบลนางลือ อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ รวมทั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 ชัยนาท ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธ์ข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวของศูนย์ขยายพันธุ์พืช(ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท) เช่นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย ที่ได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของจุดสาธิตการเกษตรของศูนยืบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนางลือ โดยมี นายวิยัติ กลีบเอม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_tnxsnh_svi_A2OeZUxcG4fI5JN21elFED8Xi0-W7PmA8NiCSsb0COzjwW2Q7oLCBwP9Tx3-4rsRqHWW6-BEne_lhe2jDsitfjPXns6WLUGYu5b828qCAKoHj-7g7nVJ7Zu7QoR3rG_rcgKY-e9Sl0EVBldIBmB4cHLuz_Wco75UmpLFRYrYPPZZmsb0_GQn_pmXbXsahCFsyeCTrjeBbvdG8Q7wQMzcW4BnnJTo0o=s0-d)
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_t-X-N9sKM99pG2Snn71ACu-wUCgTnyRE7dbSJrwfC9T7ZTv7oyyU9yw0LOmT_fvK3kniHkb3_oq5i1lHPhov-ydzpFAAtmbFYekW919Tl_SZir8BNG8nY5s7wl61476Rx6i_3ZkSHLanWpEZG_f5EYk2tNLt1MSzEK0zO3RZk6jVqXcITLFIY_oySyWqzc1MmdRLiCYdIN5VHqV33FxaTEfwTuGCqS4EDB=s0-d)
จากการส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตข้าวของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัด อำเภอ รวมทั้งศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 4 ชัยนาท ส่งผลให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของพันธุ์ข้าวที่ดีมีผลต่อการผลิตข้าวให้มีคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก เพราะต้นข้าวที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่ดีจะมีความแข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ให้ผลผลิตสูง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือพันธุ์ข้าวที่ทางราชการผลิตไม่เพียงพอแก่ความต้องการของเกษตรกร จึงเกิดนโยบายให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการผลิตพันธุ์ข้าวโดยส่งเสริมให้เกษตรกรรู้จักวิธีการผลิตพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองและขยายผลไปสู่เพื่อนเกษตรกร โดยตั้งกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธ์ข้าว ซึ่งเป็นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวของศูนย์ขยายพันธุ์พืช(ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท) เช่นกลุ่มผู้จัดทำแปลงขยายพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ-ท่าชัย ที่ได้รวมกลุ่มเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวระดับเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ทางด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งเป็นอีกหนึ่งของจุดสาธิตการเกษตรของศูนยืบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลนางลือ โดยมี นายวิยัติ กลีบเอม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6 เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล
รายละเอียดของหัวข้องานที่ได้รับมอบหมาย วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตำบลนางลือ
การทำพันธุ์ข้าวนั้นไม่ได้เป็นการยุ่งยากไปมากกว่าการปลูกข้าวปกติเท่าใดนัก หลังจากซื้อพันธุ์ข้าว สำหรับผลิตพันธุ์ข้าว จากศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 4 จังหวัดชัยนาท(ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท กรมการข้าว) แล้วดำเนินการดังนี้
เลือกแปลงนาที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ การเตรียมแปลง ต้องกำจัดข้าวเรื้อในนาออกให้หมด โดยการไถพรวนแล้วไขน้ำเข้าให้ข้าวเรื้องอกไถคราดกำจัดข้าวเรื้อก่อนหว่านข้าว หลังจากข้าวงอกทำการกำจัดข้าวปนที่ทำให้พันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ ทำทั้งหมดทุกระยะการเจริญเติบโต อย่างน้อย 4 ครั้งคือ
- ระยะต้นอ่อน ดูสีของต้นว่าจะมีสีตรงตามลักษณะพันธุ์หรือไม่และผิดแปลกไปจากต้นอื่น ๆ หรือไม่ สิ่งที่สังเกตง่ายๆ คือ ลักษณะการเจริญเติบโตของต้น ได้แก่ทรงกอ ความสูงใบ ขนาดของใบลักษณะการชูใบ บางพันธุ์ใบตั้ง บางพันธุ์ใบแผ่บางพันธุ์ใบตก
- ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูงสีต้นกาบใบและใบ
- ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
- ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆ ของต้นในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วันเมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฏ เสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่ ก่อนการเก็บเกี่ยวตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมี ลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก
เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีจะทำการเกี่ยวนวดทันที ด้วยเครื่องนวดที่ทำความสะอาดอย่างดีไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ นำไปตากและเข้าเครื่องแยกสิ่งเจือปน แล้วนำมาตากแดด1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท พร้อมที่จะจำหน่าย
![](https://lh3.googleusercontent.com/blogger_img_proxy/AEn0k_vQxz5-ET7zj7TTlH8NgznrHVwHP8OmCpZV4C8u9_0A_e5Pps8jpXkKZCxMNMezzzJXQpEAsSAjfkm3v9bMFVV2SQVNUC13EqMtAPQhdhxhAnv4IG1uu8JfVRLePkLZcLLrpU9P09XIZyyjrQYB4UUfekY1gF5bm3Iw_F30pa3cDtmsRTzfBjoO4T7gEhexNXq62ZsMxtVPU00TCs65-_m0taDZhbAYzfU6YA=s0-d)
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-5647-2633 หรือติดต่อศึกษาดูงานได้ที่ 23 หมู่ 12 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท ยินดีต้อนรับ
หลังจากการเก็บข้อมูลเรื่องดีๆ แล้วเมื่อเลิกงานก็ได้นังพูดคุยกับท่านเกษตรจังหวัดชัยนาท เพื่อจะได้ความรู้ดีๆ มาฝากผู้อ่าน เช่นเคยนายรังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท ได้กล่าวข้อคิดว่าถ้ากลุ่มเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนและกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ผู้ผลิตพันธุ์ข้าวว่า ถ้ากลุ่มต่างๆ ได้ดำเนินการผลิตอย่างดี รักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อรักษาคุณภาพไม่เพียงรักษาลูกค้าไว้เท่านั้นยังคงช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร ประเทศชาติในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพ เพราะพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ให้ผลผลิตที่ดี ลดต้นทุนการผลิตเพราะทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นปัจจัยพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน สร้างหนุนให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก น่านำไปใช้ในการผลิตพันธุ์ข้าว หรือผลิตภัณฑ์ ต่างๆ นะครับท่านผู้อ่าน
- ระยะเจริญเติบโตหรือระยะแตกกอ ดูลักษณะทรงกอ การแตกกอ ความสูงสีต้นกาบใบและใบ
- ระยะออกดอก กำจัดต้นที่ออกดอกไม่พร้อมกับต้นข้าวส่วนใหญ่
- ระยะข้าวแก่ ดูลักษณะเมล็ด สีของเปลือกให้ตรงตามพันธุ์ ลักษณะต่าง ๆ ของต้นในการพิจารณาข้าวปนหรือข้าวกลายพันธุ์ ข้าวพันธุ์เดียวกันควรมีการเจริญเติบโตสม่ำเสมอกันออกดอกพร้อมกัน ไม่ควรแตกต่างกันมากเกินกว่า 7 วันเมล็ดมีหาง เมล็ดที่มีหางมักจะปรากฏ เสมอในต้นข้าวกลายพันธุ์รวง ลักษณะของรวงข้าวแต่ละพันธุ์แตกต่างกัน ความสั้นยาวของรวง ความถี่ นอกจากนี้ ข้าวเจ้าบางพันธุ์ จะมีท้องไข่ ก่อนการเก็บเกี่ยวตรวจดูในแปลงอีกครั้งหนึ่ง ถ้าเห็นว่ามีต้นข้าวบางต้นยังมี ลักษณะผิดไปจากต้นข้าวส่วนใหญ่ เช่น ลำต้นสูงหรือต่ำผิดปกติ ให้เกี่ยวออกต่างหาก
เมื่อเห็นว่าต้นข้าวในแปลงสุกแก่เสมอกันดีจะทำการเกี่ยวนวดทันที ด้วยเครื่องนวดที่ทำความสะอาดอย่างดีไม่มีเมล็ดข้าวอื่นตกค้างอยู่ นำไปตากและเข้าเครื่องแยกสิ่งเจือปน แล้วนำมาตากแดด1-2 แดด ฝัดให้สะอาดแล้วบรรจุกระสอบเก็บไว้ในที่แห้งร่มเย็น มีอากาศถ่ายเท พร้อมที่จะจำหน่าย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 0-5647-2633 หรือติดต่อศึกษาดูงานได้ที่ 23 หมู่ 12 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท ยินดีต้อนรับ
หลังจากการเก็บข้อมูลเรื่องดีๆ แล้วเมื่อเลิกงานก็ได้นังพูดคุยกับท่านเกษตรจังหวัดชัยนาท เพื่อจะได้ความรู้ดีๆ มาฝากผู้อ่าน เช่นเคยนายรังสรรค์ กองเงิน เกษตรจังหวัดชัยนาท ได้กล่าวข้อคิดว่าถ้ากลุ่มเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนและกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ผู้ผลิตพันธุ์ข้าวว่า ถ้ากลุ่มต่างๆ ได้ดำเนินการผลิตอย่างดี รักษาไว้ซึ่งคุณภาพทุกขั้นตอน เพื่อรักษาคุณภาพไม่เพียงรักษาลูกค้าไว้เท่านั้นยังคงช่วยเหลือเพื่อนเกษตรกร ประเทศชาติในการผลิตพืชอาหารที่มีคุณภาพ เพราะพันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ให้ผลผลิตที่ดี ลดต้นทุนการผลิตเพราะทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช เป็นปัจจัยพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการผลิตพืชอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ชุมชน สร้างหนุนให้ประเทศไทยก้าวไกลสู่ครัวโลก น่านำไปใช้ในการผลิตพันธุ์ข้าว หรือผลิตภัณฑ์ ต่างๆ นะครับท่านผู้อ่าน
ที่มาของเว็บไซต์ : http://www.gotoknow.org/posts/166799
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น